พยัญชนะเดี่ยวอักษรไทยน้อยมี ๒๗ รูปคือ
พยัญชนะควบกล้ำ
สระ
สระอักษรไทยน้อยใช้เขียนไว้รอบพยัญชนะตัวเต็ม คือ ด้านหน้า เรียกว่า สระหน้า ด้านหลัง เรียกว่า สระหลัง ด้านบน เรียกว่า สระบน ด้านล่าง เรียกว่า สระล่าง เหมือนสระอักษรไทยปัจจุบัน มี ๒๓ รูป ดังนี้สระพิเศษ อีก ๒ ตัว คือ
ตัวสะกด
ตัวสะกดในอักขรวิธีอักษรไทยน้อยนั้น นิยมสะกดด้วยพยัญชนะเต็มโดยเขียนไว้บรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะต้น โดยมีตัวสะกด ๘ เหมือนอักขรวิธีภาษาไทยปัจจุบันคือวรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในอักษรไทยน้อยไม่มีรูปเหมือนกับอักษรธรรมอีสาน แต่มีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง ๕ เสียงเหมือนภาษาไทย โดยที่ผู้อ่านต้องฝันหาเสียงเอาเองตามความหมายของประโยคหรือข้อความนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เหมือนกันกับอักษรธรรมอีสานทุกประการ (แต่อักษรลาวซึ่งพัฒนาจากอักษรไทยน้อยไปเป็นอักษรประจำชาติได้เพิ่มวรรณยุกต์เหมือนอักขรวิธีไทย และปรับปรุงพยัญชนะบางตัวเพื่อให้สะดวกแก่การพิมพ์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น